เส้นทางเศรษฐกิจ

Route economic of indegenous peoples in thailand

ข้อมูลจากประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานและการกระจายตัวของชนเผ่าพื้นเมืองทั้ง 10 ชาติพันธุ์ในอดีต ป่าไม้มีความสำคัญต่อชนเผ่าพื้นเมืองที่ใช้ประโยชน์จากที่ดินป่าไม้และทรัพยากรป่าไม้แตกต่างกันไป เช่น ชาวชองในอดีตมีการเก็บหาของป่าที่สำคัญ เช่น กระวาน เป็นสินค้าส่งออกจากชุมชนไปขายเมืองจันทบุรี  ญัฮกุรบุกเบิกที่ดินป่าไม้เป็นพื้นที่ทำไร่หมุนเวียนตามวิถีของชาวญัฮกุร  บีซูและก่อก็ไม่แตกต่างกันมากนัก หรือแม้กระทั่งมละบริและมานิเองก็เคยบุกเบิกพื้นที่ป่าไม้มาเป็นไร่ข้าว วิถีชีวิตเดิมของบรรพบุรุษเคยปลูกข้าวและพืชผักต่างๆ ไว้ดำรงชีพ แต่การเปลี่ยนแปลงจากการสัมปทานป่าไม้และหรือเหตุการณ์อื่นๆ ได้ผลักดันให้พวกเขาเลิกวิถีชีวิตแบบนั้นให้กลายเป็นวิถีชีวิตแบบล่าสัตว์หาของป่าเป็นอาหารแทน เพราะความสะดวกและง่ายต่อการเคลื่อนย้ายเมื่อมีเหตุการณ์กระทบต่อความสงบสุขของชนเผ่าพื้นเมืองทั้งสอง แม้กระทั่งกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองชาวเลอูรักลาโว้ยที่บุกเบิกเกาะลันตาเป็นที่อยู่อาศัยและทำกินในฤดูมรสุม มีทั้งเป็นที่นาปลูกข้าว ที่ไร่ ที่สวน เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงมีการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่ดินบรรบุรุษของชาวอูรักลาโว้ยถูกเปลี่ยนมือไปเป็นของคนกลุ่มอื่นที่อพยพมาอยู่แทน จนกระทั่งชาวอูรักลาโว้ยต้องถอยร่นไปอยู่ท้ายเกาะลันตาใหญ่ในหมู่บ้านสังกาอู้เป็นส่วนใหญ่  หรือในพื้นที่เกาะพีพีหมู่บ้านแหลมตงที่อดีตพื้นที่ทั้งหมดบริเวณแหลมที่เป็นที่ราบของเกาะ บรรพบุรุษชาวอูรักลาโว้ยใช้ประโยชน์ตั้งบ้านเรือน ปลูกข้าวและพืชไร่ ปัจจุบันที่ดินดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของธุรกิจโรงแรมไปเกือบทั้งหมดเหลือเพียง 2 ไร่กว่าไว้เป็นที่ตั้งชุมชนชาวอูรักลาโว้ยเท่านั้น และยังไม่ทราบว่าจะต้องอพยพเคลื่อนย้ายออกไปเมื่อใด

ข้อมูลความเป็นอยู่ในปัจจุบันของชนเผ่าพื้นเมืองที่เกี่ยวพันกับที่ดินและการใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจึงมีความสัมพันธ์เชิงประวัติศาสตร์และการสูญเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และจากสถานการณ์ความเข้มงวดในการใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐทั้งป่าสงวนและป่าอนุรักษ์ตามนโยบายของรัฐบาลและการปฏิบัติงานของส่วนราชการในพื้นที่เอง จึงยังจะมีผลกระทบต่อการทำมาหากินของชนเผ่าพื้นเมืองตราบจนทุกวันนี้

Information drawn from the history of ten indigenous groups’ settlements confirms the importance of forest to their lives that the people can benefit in different ways. For instance, in the past, Chong villagers earned their income from non-timber forest products, such as, cardamom that they sent to Chantaburi province for sale. Many indigenous groups have converted forest land into farm land; even food gatherers and hunters like Mlabri and Mani once practiced paddy field. The well-known sea people, Urak Lawoy in Lanta Island have developed dried rice, paddy field, and orchard since the time of their ancestors. However, when new settlers came in to indigenous community, they eventually claimed the land with official land title. Urak Lawoy were compelled to move further to Ban Sang Ka-u at the end of the island. In the area of PP Island at Ban Laem Tong, in the past the flat land around the headland of this island was residential ground of Urak Lawoy’s ancestors with rice and dry crop cultivation, but at present, this piece of land belongs to Hotel investors, only just a little over two rai is the location of the sea people densely community. Unfortunately, the indigenous people do not know when and where they have to move out. 

Information about the present day livelihood of indigenous people involving the land and economic land use should refer to history of ancestor land and its ownership lost. In addition, the more stringent measures the government announces in relation to the Reserve Forest and other protected forests together with the harsh operation of local official, all these render negative impact on the livelihood of indigenous people.