สื่อและสิ่งพิมพ์

Media and Publication about Indigenous Peoples in Thailand

สื่อวีดีทัศน์-Media

แนะนำศูนย์ภูมิวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

ศูนย์ภูมิวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย เกิดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางการรวบรวมข้อมูลชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยเป็นเครือข่ายระบบข้อมูลทำหน้าที่เชื่อมโยงข้อมูลแบบหลายมิติ (hyperlink) โดยมีศูนย์ภูมิวัฒนชนเผ่าพื้นเมืองแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล โดยคาดหวังว่าข้อมูลที่ได้จะเป็น ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่มีผลต่อชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย และเมื่อสถานการณ์บางอย่างเกิดผันแปรขึ้น การเตรียมการหรือการแก้สถานการณ์จะดำเนินการได้อย่างทันท่วงที  ข้อมูล จึงเป็นพื้นฐาน ที่เป็นเหมือนเสาเข็มหรือรากฐานที่สำคัญให้ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย 

แนะนำการพัฒนาระบบฐานข้อมูลชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

ระบบข้อมูลที่ร่วมกันจัดทำนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสริมสร้างความแข็งให้กับชนเผ่าพื้นเมืองแต่ละกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะเป็นเจ้าของข้อมูล มีการบริหารและจัดการข้อมูลด้วยตนเอง และใช้ข้อมูลนี้เป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาตนเอง โดยมีการจัดตั้งเป็น “ศูนย์ภูมิวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมือง” 

สื่อสิ่งพิมพ์-Publication

จุลสาร-Booklet

สรุปข้อมูล 10 ชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มเปราะบาง

ชนเผ่าพื้นเมืองก่อ(อึมปี้)  Kaw(Umpi)
ชนเผ่าพื้นเมืองมละบริ Mlabri
ชนเผ่าพื้นเมืองบีซู Bisu
ชนเผ่าพื้นเมืองชอง Chong
ชนเผ่าพื้นเมืองญัฮกุร Yakru
ชนเผ่าพื้นเมืองไทแสก Tai-saek
ชนเผ่าพื้นเมืองมอแกน Moken
ชนเผ่าพื้นเมืองมอแกลน Moklen
ชนเผ่าพื้นเมืองอูรักลาโว้ย Uraklawoy
ชนเผ่าพื้นเมืองมานิ Mani

สิ่งพิมพ์เพื่อรณรงค์ - Publication for Campaign

รายงานเชิงสังเคราะห์ - Synthesis Report

กลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองของประเทศไทย ผู้อยู่ติดผืนแผ่นดินของไทยตามประวัติศาสตร์มายาวนาน แม้ว่าจะไม่เคยถูกไล่ล่าล้างเผ่าพันธุ์เหมือนชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศอื่นๆ แต่ปัจจุบันชนเผ่าพื้นเมืองของไทยกำลังได้รับผลกระทบจากกระแสการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่มุ่งเน้นการกำหนดนโยบายจากส่วนกลาง จึงทำให้เกิดการสูญเสียสิทธิการเข้าถึงทรัพยากรและที่ดินทำกินในหลากหลายรูปแบบ  มอแกนเกาะเหลา จึงเป็นตัวแทนของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยที่มีความเปราะบางที่สุด

สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ได้ผลักด้นร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... เพื่อเป็นกฎหมายส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองขึ้น โดยมุ่งหวังว่าชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยจะมีกลไกหลักในการส่งเสริม ประสานงาน และแก้ไขปัญหาได้อย่างทั่วถึงทุกด้าน สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และปฎิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง  อ่านฉบับเต็ม

บันทึกกิจกรรม - Activity record

กิจกรรมเรียนรู้พื้นที่ปฏิบัติการที่ดี ชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มเปราะบาง ภายใต้โครงการ KPEMIC ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19 - 21 พฤศจิกายน 2561 ณ ชุมชนชาวมอแกลนจังหวัดพังงาและภูเก็ต

คู่มือฝึกอบรม -Training Manual

เป็นคู่มือฝึกอบรมเทคนิคการใช้เครื่องมือการจัดการฐานข้อมูลให้กับผู้แทนชนเผ่าพื้นเมือง 10 กลุ่มชาติพันธุ์เปราะบางที่ได้นำร่องการจัดการฐานข้อมูลของตนเอง 

เป็นคู่มือฝีกอบรมผู้นำชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มเปราะบาง 10 กลุ่มชาติพันธุ์เพื่อการเป็นผู้นำการสื่อสารและรณรงค์ระดับพื้นที่

เอกสารประกอบการฝึกอบรมว่าด้วยปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง ใช้เพื่อการฝึกอบรมอาสาสมัครและผู้นำชนเผ่าพื้นเมือง 10 กลุ่มชาติพันธุ์