สารสนเทศข้อมูล

Information about Marginalized and vulnerable indigenous Groups in Thailand

ความเป็นชายขอบและเปราะบางของชนเผ่าพื้นเมืองไทย

        ชนเผ่าพื้นเมืองของประเทศไทย เป็นประชากรที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงและในเขตป่าที่ห่างไกลและอยู่ตามเกาะกลางทะเล ไม่สามารถระบุจำนวนประชากรที่แน่นอนได้เพราะในการสำมะโนประชากรไทยไม่มีการจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์หรือเชื้อชาติ อีกทั้งยังมีชนเผ่าพื้นเมืองที่ยังไม่มีสัญชาติ จึงไม่มีช่องทางเข้าถึงบริการทางสังคมต่าง ๆ ของรัฐบาลและไม่สามารถหางานและแม้การเคลื่อนย้ายอย่างอิสระได้  ชนเผ่าพื้นเมืองชายขอบและเปราะบางที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้ จึงเลือกจากภาวะวิกฤตด้านประชากรที่มีขนาดเล็กประมาณ 200 ถึง 6,000 คน บางกลุ่มมีความเป็นไปได้ว่าอาจเผชิญกับการสูญสิ้นเผ่าพงศ์ หรือวัฒนธรรมของพวกเขาอาจถูกลบหายไปทั้งหมดในไม่ช้า ภาวะไร้รัฐ (ไร้ความเป็นพลเมือง) การไม่มีสิทธิในที่ดิน การสูญเสียวิถีชีวิตตามประเพณีและการผุกร่อนของวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของพวกเขาเป็นประเด็นปัญหาวิกฤตที่พวกเขากำลังประสบอยู่ 

        ทิศทางและนโยบายการพัฒนาประเทศการรวมพลเมืองเป็นไทยหนึ่งเดียวเป็นแม่บทการพัฒนาที่ทำความเข้าใจได้เพื่อความมั่นคงของประเทศ แต่ในด้านกลไกและเครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น ด้านการศึกษาที่ใช้หลักสูตรเดียว  สุขภาวะของประชาชนและสวัสดิการต่างๆที่มีมาตรฐานเดียวทั่วประเทศ  ได้ปรากฏผลเป็นปัญหาและความเสี่ยงด้านความมั่นคงของชาติในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ขนาดครัวเรือนลดลง ปัญหาเชิงคุณภาพทั้งด้านสุขภาพ การเรียนรู้ และคุณธรรมจริยธรรมที่ลดลง จึงเป็นที่มาของความน่ากังวลของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยที่จะถูกทำลายวิถีวัฒนธรรมชนเผ่าที่มีอัตลักษณ์และเป็นคุณค่าในมิติของการพัฒนา ได้แก่ ปัญหาสิทธิในที่ดินและการใช้ประโยชน์ ชนเผ่าพื้นเมืองขาดการมีส่วนร่วมในสิทธิการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปถึงการขาดสิทธิในที่ดินอันเป็นที่อยู่อาศัยและที่ทำกินทั้งที่เป็นมรดกจากบรรพบุรุษขาดเพียงแต่เอกสารสิทธิ์ตามกฎหมาย ปัญหาสิทธิพลเมือง ชนเผ่าพื้นเมืองมีปัญหาเกี่ยวกับสถานะบุคคลอย่างมาก สมาชิกชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ตามบริเวณแนวชายแดน กลุ่มเร่ร่อนล่าสัตว์หาของป่า กลุ่มเร่ร่อนจับสัตว์ทะเลที่มักถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็นผู้อพยพเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย นำมาซึ่งการสร้างความรู้ที่เป็นอคติทางชาติพันธุ์ขึ้น การสื่อสารความรู้และความเข้าใจให้กลายเป็นชาวเขา คนชายขอบ คนป่า หรือกลุ่มชาติพันธุ์ใดๆ จึงเป็นปัญหาอคติทางด้านชาติพันธุ์ที่ทำให้กลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองหลายกลุ่มต้องถูกกันออกจากการเป็นประชากรไทย และยังคงปรากฏอยู่ในสังคมไทยในปัจจุบัน  เพิ่มเติม

Marginalized and vulnerable Indigenous groups in THAILAND 

    By nature, the indigenous peoples in Thailand are generally found with communities located on highland and/or remote forest area including those with offshore islands. Meanwhile there is none of actual number confirmed of their population since there is none of slot made for racial classification or profiling within the household survey and registration in Thailand, in addition, some of them have been left under statelessness or lack of nationality with inaccessible to all basic social services provided by the government. These also limit to the exercise of their rights to work and freedom of movement. Thus for the criteria with selection of marginalized and vulnerable indigenous groups within this project, it would be focusing on small size of population, in number of 200 to 6,000 persons, while some groups are also facing the extinction with life threat or dissolution of their culture, statelessness (not being civil members), landless and the loss of livelihood and their customary practices with dilution of cultures and identities.

      The direction and policies for country development with assimilation and unity of populations and races in Thailand is overarching in various master plans developed with country stability and integrity, but on side of the mechanisms and tools for supporting the life quality development, e.g. for the education, it is mainstreamed with monopolized and uniformed curriculum; and for the healthcare system, public healthcare and welfare schemes provided are also supervised within only one-standardized scheme nationwide. These all have created impacts with threats to national security and challenges, as: the emerging of aged society with minimizing of household size; the poor or limited quality of healthcare system; and the declining of learning and studying on morality and goodness. And these all are also threats to indigenous peoples in Thailand too, as their livelihood and cultural identities would be marred or diluted, by the mainstream development somehow, as : the land dispute with exploitation of natural resources; the lack or poor of participation of folk communities towards natural resource management; the inaccessible to residential and arable areas, even they are occupying as ancestral domain lands but without title deeds; the problems of civil rights and personal legal status; the limits of livelihood and constraints to all folk communities residing on border of the country; and the ambiguity of status of groups with nomadic lifestyle, including those practicing hunting and gathering in forest or marine coastal areas with suspiciously illegal entries. These all cause the prejudice or bias towards ethnic diversity and once they have been repeatedly replicated through communications, narratives and discourses, the in-depth understandings with shaping-up of “the other within” concept has been made through making of identities of highlanders, hill tribes, marginalized persons, forest people or any other ethnic groups. The strong foundation of distinction between groups has been made with bias against and causing some of them falling into statelessness and nationality-lessness, while they have been exiting in Thailand for generations.   Read more 

ชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มเปราะบางในประเทศไทย

The Vulnerable indigenous groups in Thailand